ยินดีต้อนรับ

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 8

วันอังคาร ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากมีการสอบกลางภาคเรียน

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 7

วันอังคาร ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน แต่จะทำการเรียนชดเชยในโอกาสต่อไป

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 6

วันอังคาร ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* การใช้คำถามเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้กล้าแสดงความคิดเห็น

* การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก  ถ้าเกิน 6 ปี ไปแล้วจะพัฒนาได้น้อย
   เพราะต้องเข้าสู่การมีกฎเกณฑ์  ระเบียบแบบแผน

* การประดิษฐ์สื่อ  จะต้องคำนึงถึงความประหยัดเงิน  ถ้าจำเป็นต้องมีการลงทุนสูง
   สื่อนั้นจะต้องสามารถใช้งานได้หลายครั้ง

* การเลือกเนื้อหาที่จะสอนเด็ก  ควรเลือกเนื้อหา ดังต่อไปนี้ 
   1. เรื่องราวที่ใกล้ตัวเด็ก
   2. เรื่องราวที่เด็กสนใจ
   3. เรื่องราวที่มีผลกระทบกับเด็ก

* การจัดประสบการณ์ต้องจัดให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  เปิดโอกาสให้เด็ก
   ลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างอิสระ

* ทำกิจกรรม ดูกล่อง
   1. ดูกล่องแล้วนึกถึงอะไร   ( กำแพง )
   2. อยากให้กล่องเป็นอะไร  ( บ่อน้ำ )
   3. จะใช้กล่องนี้ไปทำอะไร  ( กรอบรูป )

* ทำกิจกรรมต่อกล่องเป็นกลุ่ม
   แบบที่ 1 แต่ละคนวางกล่องของตัวเองทีละใบ โดยไม่คุยกัน ต่างคนต่างวาง
               ผลที่เกิด คือ จะมีความเป็นเอกัตบุคคล มีความเป็นอิสระ 


   แบบที่ 2 ปรึกษาหารือกันเพื่อสร้างผลงานจากกล่อง โดยมีการร่วมกันวางแผน
               ผลที่เกิด คือ ผลงานมีความเป็นรูปร่างมากขึ้นอันเกิดจากการวางแผน


   แบบที่ 3 แต่ละกลุ่มนำผลงานมาจัดเป็นนิทรรศการ
               ผลที่เกิด คือ บูรณาการกับคณิตศาสตร์ในเรื่อง  ตำแหน่ง  ทิศทาง
               ประเภท  การจัดลำดับ  การนับ

  
งานที่ได้รับมอบหมาย

* ประดิษฐ์สื่อจากแกนกระดาษทิชชู 3 ชิ้น ตามรูปแบบที่กำหนด


วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 5

วันอังคาร ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* นำเสนอความเรียงทางคณิตศาสตร์ในแต่ละหน่วยการเรียน

* การคาดเดาด้วยสายตา เป็นการหาค่าอย่างไม่เป็นทางการ

* การวาดภาพ คือ การถ่ายทอดประสบการณ์ เด็กอนุบาลควรใช้สีวาดภาพไม่ควรใช้ดินสอ
   เพราะเป็นการฝึกให้เด็กแก้ไขปัญหาและมีความมั่นใจในการตัดสินใจของตนเอง

* กิจกรรมในการเสริมประสบการณ์บางกิจกรรม ถ้าต้องการให้เด็กไปค้นหาคำตอบจากที่บ้าน
   ครูต้องทำจุลสารให้ความรู้และชี้แจงแก่ผู้ปกครอง 

* อาจารย์สอนวิธีการเขียนแผนในแต่ละวัน

* พัฒนาการของเด็ก
   แรกเกิด - 2 ปี  ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กระทำกับวัตถุ สื่อของจริง
   2 - 4 ปี           ความจำ  ภาษา  พูดเป็นคำๆ
   4 - 6 ปี           สื่อสารเป็นประโยค ใช้เหตุผลเป็นขั้นอนุรักษ์


งานที่ได้รับมอบหมาย

* เขียนแผนการสอนเป็นรายบุคคลตามหน่วยการเรียนที่กำหนดไว้
* เตรียมกล่อง 1 ใบ

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 4

วันอังคาร ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* เขียนแผนผังความคิดเป็นรายบุคคลตามหน่วยการเรียน เรื่อง ยานพาหนะ

* สังเกตด้วยตา > ใช้เครื่องมือไม่เป็นทางการ > ใช้เครื่องมือเป็นทางการ = การวัด

* การวัดหาค่า > การเปรียบเทียบ = การเรียงลำดับ

* นำเสนอข้อความที่สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ตามหน่วยการเรียน เรื่อง ยานพาหนะ

งานที่ได้รับมอบหมาย

* นำข้อความที่สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์มาเขียนเป็นความเรียง

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 3

วันอังคาร ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* นำเสนอแผนผังความคิดหน่วยการเรียนของเด็กปฐมวัย เรื่อง ยานพาหนะ
   ข้อเสนอแนะในการเขียนหน่วยการเรียน มีดังนี้
   1. การเขียนหน่วยการเรียน เพื่อให้มีเนื้อหาสาระที่นำไปสู่การบูรณาการ
   2. หน่วยการเรียนควรจะประกอบด้วย
       2.1 ประเภท
       2.2 ลักษณะ  ( สี , ขนาด , พิ้นผิว , รูปทรง , วัสดุที่ใช้ )
       2.3 ประโยชน์  ( ในตัวเอง , การประยุกต์ใช้ < การแปรรูป , อาชีพที่เกี่ยวข้อง >)
       2.4 การดูแลรักษา
       2.5 ข้อจำกัด , ข้อควรระวัง

* ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ( นิตยา  ประพฤติกิจ 2541:17-18 )
   1. การนับ ( Counting )
   2. ตัวเลข ( Number )
   3. การจับคู่ ( Matching )
   4. การจัดประเภท ( Classification )
   5. การเปรียบเทียบ ( Comparing )
   6. การจัดลำดับ ( Ordering )
   7. รูปทรงและพื้นที่ ( Shape and Space )
   8. การวัด ( Measurement )
   9. เซต ( Set )
  10. เศษส่วน ( Fraction )
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย ( Patterning )
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ( Conservation)

* คณิตศาสตร์แนวใหม่ ( เยาวภา  เตชะคุปต์ 2542:87-88 )
  1. การจัดกลุ่มหรือเซต
  2. จำนวน 1-10   การฝึกนับ 1-10  จำนวนคู่  จำนวนคี่
  3. ระบบจำนวน
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
  5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม
  6. ลำดับที่
  7. การวัด
  8. รูปทรงเรขาคณิต
  9. สถิติและกราฟ

งานที่ได้รับมอบหมาย

* เขียนข้อความให้สื่อความหมายทางคณิตศาตร์ตามหน่วยการเรียน


วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 2

วันอังคาร ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* ทำกิจกรรมวาดรูป 1 รูป แล้วเขียนชื่อตนเอง

* ภาษากับคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

* การให้ประสบการณ์แก่เด็ก
   1. ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียน เช่น การทำบัตรภาพสัญลักษณ์แทนตนเองแล้วติดบอร์ด 
       เรียงลำดับการเข้าชั้นเรียนตามลำดับก่อน-หลัง เป็นต้น
   2. เด็กเรียนรู้จากการทำตามแบบอย่าง เน้นจากกระบวนการ
   3. การจัดประสบการณ์ควรจัดให้อยู่ในเลขฐาน 10
   4. รับรู้ > ทำซ้ำ > เกิดแนวคิดจนพร้อมเชื่อมโยงใหม่ > เห็น > เลียนแบบ
   5. สร้างเกณฑ์เดียว จะช่วยให้เด็กจัดลำดับการคิดวิเคราะห์ได้
   6. การนับจะต้องรู้ค่าของจำนวนที่นับ

งานที่ได้รับมอบหมาย

* แบ่งกลุ่มๆละ 5 คน เขียนแผนผังความคิดหน่วยการเรียนของเด็กปฐมวัย 1 หน่วย


วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 1

วันอังคาร ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* สร้างข้อตกลงในการเรียนการสอน

* กฎระเบียบของมหาวิทยาลัยและการเข้าร่วมกิจกรรม

* ทำใบงาน
   1. บอกความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 1 ประโยค
       " คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การเรียนรู้ของเด็กในเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับจำนวนและการใช้เหตุผล "
   2. สิ่งที่ต้องการรู้ในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

* อาจารย์อธิบายการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย