วันอังคาร ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556
เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
* เพื่อนสาธิตการสอน เรื่อง ขนมไทย
- วันที่ 1 ชื่อขนมไทย
เด็กๆรู้จักขนมอะไร > ลองดูซิว่านี่เป็นภาพอะไร > ตัวเลขกำกับจำนวนให้ติดไว้ที่ภาพสุดท้าย
- วันที่ 2 ลักษณะรูปร่างของขนมไทย
ขนมใส่ถุงเจาะรูให้ดมกลิ่นได้ > นับจำนวนทั้งหมด > แยกออก > เรียงจากซ้ายไปขวา >
นับใหม่ > ใส่ตัวเลขกำกับ > เด็กอยากชิมมั๊ย > ครูจะแบ่งออกเป็นครึ่ง > ไม่พอแบ่งออกอีกครึ่ง
เป็น 4 ส่วน > 4 ส่วนให้ได้เด็ก 4 คน > ครูวางเรียงขนมชั้น เม็ดขนุน สลับกัน >
เด็กลองวางเรียงตามแบบซิ
* เพื่อนสาธิตการสอน เรื่อง ข้าว
- วันที่ 2 ลักษณะของข้าว
เ็ด็กรู้จักข้าวอะไรบ้าง > รู้จักส่วนประกอบ ใช้ตาราง > ใส่ข้าวสารในภาชนะที่ต่างกัน >
เทใส่ภาชนะที่เท่ากันเพื่อพิสูจน์ > แล้วเทกลับใส่ภาชนะเดิม (อนุรักษ์) > ข้าวสารเหนียวเทออก
ใส่ถ้วยได้ 4 ถ้วย ข้าวสารเจ้าเทออกใส่ถ้วยได้ ถ้วย (เปรียบเทียบ)
- วันที่ 4 การเก็บรักษา
เด็กๆเคยเห็นว่าข้าวเก็บไว้ที่ไหน > ทำไมต้องเก็บข้าวไว้ > เด็กดูภาชนะที่ครูเตรียมมา >
ครูเอาที่เก็บข้าวมากี่ชนิด > แต่ละภาชนะมีรูปทรงเราขาคณิตอะไรบ้าง
* เพื่อนสาธิตการสอนเรื่องกล้วย
- วันที่ 1 ชื่อของกล้วยชนิดต่างๆ
เด็กๆรู้จักกล้วยอะไรบ้าง > เด็กทราบมั๊ยว่าในตะกร้ามีกล้วยอะไรอยู่ > ไหนบอกครูซิมีกล้วย
อะไรบ้าง > กล้วยอันไหนหยิบขึ้นมาเป็นอันดับ 1 > มีกล้วยเยอะแยะ หยิบมาวางเรียงแล้วนับ >
หยิบภาพวางเรียง > กล้วยทั้งหมด 9 หวี เป็นกล้วยหอม 4 หวี กล้วยน้ำละว้า 3 หวี กล้วยไข่ 2 หวี
- วันที่ 2 ลักษณะของกล้วย
เมื่อวานเด็กรู้จักกล้วยอะไรบ้าง > ครูหยิบกล้วยขึ้นมานับ 1 หวีมีกี่ลูก > ใช้ตัวเลขกำกับ >
จานที่มีผ้าปิดมีอะไรอยู่ ลองทาย > เปิดดูผิวเป็นอย่างไร ลูบผิว ดูสี ดมกลิ่น > เด็กบอกครู >
ครูเขียน map ตามที่เด็กบอก > กล้วยน้ำละว้าข้างนอกเรียกว่าเปลือก ข้างในมีเนื้อสีขาว >
เด็กอยากชิมมั๊ย > ถ้าครูแบ่งครึ่งต้องเรียกมา 2 คน ถ้าไม่พอแบ่งไปอีก 4 อีก 8 กล้วย 1 ผล
เด็กชิมได้ 8 คน > ไส้ของมันมีสีดำเรียกว่าเมล็ด > รสชาดเป็นอย่างไร > สรุปตอนท้ายด้วย map
ที่เขียนไว้
- วันที่ 3 ข้อควรระวัง
สร้างเรื่อง พ่อไปตัดกล้วย ใช้สอนเรื่องตำแหน่ง ทิศทางได้
- วันที่ 4 การขยายพันธุ์
แบ่งกลุมใช้กระดาษตัดเป็นรูปมือ > แต่ละแปลงห่าง 1 ฝ่ามือ > ปลูกเว้นระยะเพื่อให้รากขยาย >
แปลงของใครขยายต้นกล้วยได้มากที่สุด
งานที่ได้รับมอบหมาย
* สรุปงานวิจัย 1 เรื่อง
ชื่องานวิจัย : การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการเล่า "นิทานคณิต"
ผู้วิจัย : ขวัญนุช บุญยู่ฮง
ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การเล่านิทานก่อนและหลังการทดลอง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
เด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2545 ของโรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2545 ของโรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จำนวน 15 คน
ซึ่งได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเลือกเด็ก
ที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้าย กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ได้แก่ การเล่านิทานคณิต
ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมเล่านิทานคณิต
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สรุปผลการวิจัย
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ในทักษะด้านการนับ การรู้ค่าตัวเลข การจับคู่ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับสูงขั้นกว่าก่อนการทดลอง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในด้านการจัดประเภทสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" เมื่อพิจารณาโดยใช้เส้นภาพแล้ว
ผลปรากฏว่าส่วนใหญ่มีคะแนนทักษะพื้นฐานรายทักษะ หลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่า
ก่อนการทดลอง
4. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" เมื่อพิจารณาโดยใช้เส้นภาพแล้ว
ผลปรากฏว่าเด็กทุกคนมีคะแนนทักษะพื้นฐานรวมทุกทักษะ หลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่า
ก่อนการทดลอง
ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
1. ในการจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" กับเด็กจำนวนมาก ควรคำนึงถึงลักษณะของสื่อที่ใช้
ประกอบในการทำกิจกรรม ต้องมีขนาดใหญ่พอที่เด็กทุกคนสามารถมองเห็นได้
2. นิทาน 1 เรื่อง สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการได้หลายทักษะ
ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของครูผู้สอนในการดัดแปลงนิทานให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
3. การจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการจัดกิจกรรม ต้องมีความ
เหมาะสมกับวัยของเด็ก
4. การกำหนดคำถามในการเล่านิทานแต่ละเรื่อง นอกจากจะมุ่งให้เด็กเกิดมโนทัศน์
ทางคณิตศาสตร์แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงคือ การถามคำถามจะต้องไม่ทำลายอรรถรสของการฟังนิทาน
ครูอาจตั้งคำถามไว้หลายคำถาม แต่อาจไม่ได้ใช้ทุกคำถาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและปฏิกิริยา
ของเด็กขณะฟังนิทาน