ยินดีต้อนรับ

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 16

วันอังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* อาจารย์แนะนำการสอนเรื่อง กล้วย
   - เด็กๆคิดว่าในตะกร้านี้มีอะไร > เด็กๆคิดว่าในตะกร้านี้มีกล้วยหอมกี่ผล > นับ >
วางตัวเลขกำกับ > ให้เด็กเลือกล้วยอันที่มีสีเขียว แบ่งประเภทได้เป็น กล้วยที่มีสีเขียว
และกล้วยทีไม่มีสีเขียว
   - วิเคราะห์ลักษณะเปรียบเทียบทำเป็นตาราง 
   - ประโยชน์และโทษ บันทึกโดยใช้ตารางเปรียบเทียบ > เลือกประโยชน์ 1 อย่าเพื่อมาทำอาหาร 

* ภาษา , คณิตศาตร์  เป็นเครื่องมือ
   วิทยาศาสตร์  เป็นการคิดอย่างมีเหตุผล

* เขียนสรุปจากการเรียนในรายวิชานี้ว่า ได้ความรู้อย่างไร, ได้ทักษะอย่างไร , ได้วิธีสอนอย่างไร

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 15

วันอังคาร ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* เพื่อนสาธิตการสอน เรื่อง อวัยวะภายนอกร่า่งกาย
  - วันที่ 1 รู้จักอวัยวะภายนอก
    เด็กๆบอกครูได้มั๊ยคะว่าเด็กๆมองเห็นอวัยวะภายนอกอะไรบ้าง > ครูเขียนสิ่งที่เด็กตอบ
บนกระดาน > ครูติดภาพคนถามว่าอวัยวะแต่ละอย่างมีจำนวนเท่าไหร่ > เขียนจำนวน
ลงบนกระดาน > อวัยวะภายนอกทั้งหมดมีเท่าไหร่ > เด็กๆบอกครูซิอวัยวะใดบ้างมีอันเดียว 
ที่เหลือคืออวัยวะที่มากกว่า 1 > เปรียบเทียบอวัยวะที่มี 1 กับมากกว่า 1 
       1. อ่านไม่ออกต้องมีภาพมาแปะ
       2. อะไรที่นับแล้วให้ทำเครื่องหมายไว้

  - วันที่ 2 ลักษณะ
    บอกครูซิว่าอวัยวะภายนอกมีอะไรบ้าง > เด็กๆลองสังเกตลักษณะดูรูปร่าง พื้นผิว สี >
เปรียบเทียบโดยใช้ตารางสัมพันธ์ 

  - วันที่ 3 หน้าที่
    อวัยวะอะไรบ้างที่เหมือนกัน > ร้องเพลงตาดูหูฟัง > ถามเด็กว่าในเพลงมีอวัยวะใดบ้าง
แต่ละอันมีไว้ทำอะไร 

  - วันที่ 4 ประโยชน์
    ครูเล่านิทาน > ในนิทานเราใช้อวัยวะทำอะไรบ้าง

  - วันที่ 5 วิธีการดูแลรักษา
    การสอนการดูแลรักษาอวัยวะสิ่งแรก คือ ให้เด็กไปบอกผู้ปกครอง

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 14

วันอังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* เพื่อนสาธิตการสอน เรื่อง กระดุม
   - วันที่ 1 กระดุมมีหลายชนิดมีชื่อเรียกแตกต่างกัน
     ร้องเพลง > ครูแจกภาพตัดต่อรูปกระดุมให้เด็ก > ให้เด็กแต่ละคนติดภาพตัดต่อ
บนกระดาน > บอกเด็กให้ช่วยต่อเติมภาพที่สมบูรณ์ > เด็กๆดูซิภาพที่เห็นเป็นภาพอะไร >
เด็กๆดูซิในตัวเด็กๆมีกระดุมตรงไหนบ้าง > เด็กๆรู้จักกระดุมอะไรบ้าง > เขียน map
สิ่งที่เด็กบอก > ครูมีกระดุมให้เด็กๆดู เด็กๆอยากทราบมั๊ยว่ามีกระดุมอยู่ในขวดทั้งหมดกี่เม็ด >
พิสูจน์โดยการเอาออกมานับวางเรียงเป็นเลขฐานสิบ 

   - วันที่ 2 ชนิดของกระดุม
     เมื่อวานนี้เด็กๆรู้จักกระดุมกี่ชนิดอะไรบ้าง > แยกกระดุมเป็นโลหะกับอโลหะ >
ใช้แม่เหล็กพิสูจน์ > เขียนตารางสัมพันธ์
   - วันที่ 3 ประโยชน์ของกระดุม
     ใช้นิทาน
   - วันที่ 4 การเก็บรักษา
     เราจะไปซื้อกระดุมได้ที่ไหนบ้าง > วาดแผนที่ที่ไปร้านกระดุม > อาชีพที่ใช้กระดุม >
ที่บ้านเด็กๆมีกระดุมเก็บไว้ที่ไหนบ้าง

งานที่ได้รับมอบหมาย

* สรุป mind map เรื่อง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย



วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 13

วันอังคาร ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* พูดคุยถึงเรื่องงานแสดงความสามารถพิเศษ มีการแสดง  ดังนี้
   1. รำเชิญพระขวัญ  : แพทตี้                      ( 1 คน )  
   2. ร้องเพลง          : จูน                           ( 1 คน )
   3. โฆษณา           : โบว์ , เปิ้ล                  ( 2 คน )
   4. พิธีกร              :  ซาร่า , ลูกหยี            ( 2 คน )
   5. โชว์                                                ( 10 คน )
          5.1 ลิปซิ้ง     : ตังเม , ไตเติ้ล            
          5.2 เต้น        : พลอย , เฟิร์ส , ทราย
          5.3 ละครใบ้   : ลูกหมี , ชมพู่
          5.4 ตลก       : มิ้งค์ , แตง , ชม
   6. ผู้กำกับหน้าม้า   : พูม , มี๊                     ( 2 ตน)
   7. หน้าม้า            : เพื่อนที่เหลือทั้งหมด    ( 48 คน)
             
* เป็นการจัดประสบการณ์แบบโครงการโดยผ่านกิจกรรม 
   ได้ความรู้ทางคณิตศาสตร์  ดังนี้
   1. จำนวนและการดำเนินการ 
       - การแสดงจำนวน 
   2. การวัด
       - ช่วงเวลา
         15:00 - 15:10 น. รำ , ร้องเพลง , โฆษณา
         15:10 - 15:30 น. พิธีกร , ลิปซิ้ง , เต้น , ละครใบ้ , ตลก
   3. เรขาคณิต
       - ตำแหน่ง , ทิศทางการขึ้นลงเวที
       - รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต เช่น การออกแบบ
   4. พีชคณิต
       - เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ เช่น รูปแบบของการแสดง
   5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
       - รวบรวมข้อมูล เช่น รวบรวมข้อมูลของแต่ละฝ่ายเพื่อประเมิน
   6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
       - ประเมินผล

* นำไปประยุกต์ใช้กับเด็ก
   ต้องถ่ายโอนจากกิจกรรมให้เป็นภาพ  นำไปสู่รูปแบบทางคณิตศาสตร์ ( ประโยคสัญลักษณ์ )

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 12

วันอังคาร ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* เพื่อนสาธิตการสอน เรื่อง ขนมไทย
   - วันที่ 1 ชื่อขนมไทย
      เด็กๆรู้จักขนมอะไร > ลองดูซิว่านี่เป็นภาพอะไร > ตัวเลขกำกับจำนวนให้ติดไว้ที่ภาพสุดท้าย
   
   - วันที่ 2 ลักษณะรูปร่างของขนมไทย 
      ขนมใส่ถุงเจาะรูให้ดมกลิ่นได้ > นับจำนวนทั้งหมด > แยกออก > เรียงจากซ้ายไปขวา >
นับใหม่ > ใส่ตัวเลขกำกับ > เด็กอยากชิมมั๊ย > ครูจะแบ่งออกเป็นครึ่ง > ไม่พอแบ่งออกอีกครึ่ง
เป็น 4 ส่วน > 4 ส่วนให้ได้เด็ก 4 คน > ครูวางเรียงขนมชั้น เม็ดขนุน สลับกัน >
เด็กลองวางเรียงตามแบบซิ

* เพื่อนสาธิตการสอน เรื่อง ข้าว
   - วันที่ 2 ลักษณะของข้าว
      เ็ด็กรู้จักข้าวอะไรบ้าง > รู้จักส่วนประกอบ ใช้ตาราง > ใส่ข้าวสารในภาชนะที่ต่างกัน >
เทใส่ภาชนะที่เท่ากันเพื่อพิสูจน์ > แล้วเทกลับใส่ภาชนะเดิม (อนุรักษ์) > ข้าวสารเหนียวเทออก
ใส่ถ้วยได้ 4 ถ้วย ข้าวสารเจ้าเทออกใส่ถ้วยได้  ถ้วย (เปรียบเทียบ)

   - วันที่ 4 การเก็บรักษา
     เด็กๆเคยเห็นว่าข้าวเก็บไว้ที่ไหน > ทำไมต้องเก็บข้าวไว้ > เด็กดูภาชนะที่ครูเตรียมมา >
ครูเอาที่เก็บข้าวมากี่ชนิด > แต่ละภาชนะมีรูปทรงเราขาคณิตอะไรบ้าง

* เพื่อนสาธิตการสอนเรื่องกล้วย
   - วันที่ 1 ชื่อของกล้วยชนิดต่างๆ
     เด็กๆรู้จักกล้วยอะไรบ้าง > เด็กทราบมั๊ยว่าในตะกร้ามีกล้วยอะไรอยู่ > ไหนบอกครูซิมีกล้วย
อะไรบ้าง > กล้วยอันไหนหยิบขึ้นมาเป็นอันดับ 1 > มีกล้วยเยอะแยะ หยิบมาวางเรียงแล้วนับ >
หยิบภาพวางเรียง > กล้วยทั้งหมด 9 หวี เป็นกล้วยหอม 4 หวี กล้วยน้ำละว้า 3 หวี กล้วยไข่ 2 หวี

   - วันที่ 2 ลักษณะของกล้วย
     เมื่อวานเด็กรู้จักกล้วยอะไรบ้าง > ครูหยิบกล้วยขึ้นมานับ 1 หวีมีกี่ลูก > ใช้ตัวเลขกำกับ >
จานที่มีผ้าปิดมีอะไรอยู่ ลองทาย > เปิดดูผิวเป็นอย่างไร ลูบผิว ดูสี ดมกลิ่น > เด็กบอกครู > 
ครูเขียน map ตามที่เด็กบอก > กล้วยน้ำละว้าข้างนอกเรียกว่าเปลือก ข้างในมีเนื้อสีขาว >
เด็กอยากชิมมั๊ย > ถ้าครูแบ่งครึ่งต้องเรียกมา 2 คน ถ้าไม่พอแบ่งไปอีก 4 อีก 8 กล้วย 1 ผล
เด็กชิมได้ 8 คน > ไส้ของมันมีสีดำเรียกว่าเมล็ด > รสชาดเป็นอย่างไร > สรุปตอนท้ายด้วย map
ที่เขียนไว้  
  
   - วันที่ 3 ข้อควรระวัง
     สร้างเรื่อง พ่อไปตัดกล้วย ใช้สอนเรื่องตำแหน่ง ทิศทางได้

   - วันที่ 4 การขยายพันธุ์
     แบ่งกลุมใช้กระดาษตัดเป็นรูปมือ > แต่ละแปลงห่าง 1 ฝ่ามือ > ปลูกเว้นระยะเพื่อให้รากขยาย >
แปลงของใครขยายต้นกล้วยได้มากที่สุด

งานที่ได้รับมอบหมาย

* สรุปงานวิจัย 1 เรื่อง

ชื่องานวิจัย : การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการเล่า "นิทานคณิต"

ผู้วิจัย : ขวัญนุช  บุญยู่ฮง

ความมุ่งหมาย
     เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การเล่านิทานก่อนและหลังการทดลอง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
     เด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2545 ของโรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม  อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
     เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2545 ของโรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม  อำเภอแกลง จังหวัดระยอง  จำนวน 15 คน
ซึ่งได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  โดยเลือกเด็ก
ที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้าย กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง

ตัวแปรที่ศึกษา
     ตัวแปรต้น   ได้แก่   การเล่านิทานคณิต
     ตัวแปรตาม  ได้แก่  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
     1. แผนการจัดกิจกรรมเล่านิทานคณิต
     2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 

สรุปผลการวิจัย
     1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ในทักษะด้านการนับ การรู้ค่าตัวเลข การจับคู่ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับสูงขั้นกว่าก่อนการทดลอง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในด้านการจัดประเภทสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
     3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" เมื่อพิจารณาโดยใช้เส้นภาพแล้ว
ผลปรากฏว่าส่วนใหญ่มีคะแนนทักษะพื้นฐานรายทักษะ  หลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่า
ก่อนการทดลอง
     4. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" เมื่อพิจารณาโดยใช้เส้นภาพแล้ว
ผลปรากฏว่าเด็กทุกคนมีคะแนนทักษะพื้นฐานรวมทุกทักษะ  หลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่า
ก่อนการทดลอง

ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้ 
     1. ในการจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" กับเด็กจำนวนมาก ควรคำนึงถึงลักษณะของสื่อที่ใช้
ประกอบในการทำกิจกรรม ต้องมีขนาดใหญ่พอที่เด็กทุกคนสามารถมองเห็นได้
     2. นิทาน 1 เรื่อง  สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการได้หลายทักษะ
ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของครูผู้สอนในการดัดแปลงนิทานให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
     3. การจัดกิจกรรมการเล่า "นิทานคณิต" ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการจัดกิจกรรม ต้องมีความ
เหมาะสมกับวัยของเด็ก
     4. การกำหนดคำถามในการเล่านิทานแต่ละเรื่อง  นอกจากจะมุ่งให้เด็กเกิดมโนทัศน์
ทางคณิตศาสตร์แล้ว  สิ่งที่ต้องคำนึงคือ  การถามคำถามจะต้องไม่ทำลายอรรถรสของการฟังนิทาน
ครูอาจตั้งคำถามไว้หลายคำถาม  แต่อาจไม่ได้ใช้ทุกคำถาม  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและปฏิกิริยา
ของเด็กขณะฟังนิทาน

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 11

วันอังคาร ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* อาจารย์สาธิตการสอนเรื่อง ขนมไทย

งานที่ได้รับมอบหมาย

* เตรียมสาธิตการสอนตามหน่วยการเรียนที่กำหนดไว้

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 10

วันอังคาร ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* การใช้คำถามกับเด็กให้ใช้คำว่า "นึกถึงอะไร"  หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า "คือ"
   เพราะจะได้มีอิสระในการคิด  ทำให้เด็กมีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น

* เกณฑ์ = ตัวชี้วัดที่เป็นตัวเลข ซึ่งเป็นที่ยอมรับและสะท้อนถึงคุณภาพ

* มาตรฐาน = สิ่งที่คนทั่วไปยอมรับได้  
   กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ของ สสวท.
     - สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
                      จำนวน = นับ > ค่า > ตัวเลขกำกับ
                      การดำเนินการ = นำจำนวนมาใช้ในชีวิตประจำวัน
     - สาระที่ 2 การวัด
                      มีค่าและปริมาณที่แสดงออกเป็นตัวเลขโดยใช้เครื่องมือ 
     - สาระที่ 3 เรขาคณิต
                      ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง ( ใช้เครื่องมือ , ปริมาณ , ตัวเลข , หน่วย )
     - สาระที่ 4 พีชคณิต
                      เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
     - สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                      รวบรวมข้อมูล (สถิติ)   การนำเสนอ (กราฟ)
     - สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                      เป็นการประยุกต์ใช้

* ส่งงานประดิษฐ์ดอกไม้
      
                      

   การนำดอกไม้นี้  มาประยุกต์ใช้
      - เป็นสื่อการสอน
          1. ถามว่ามีทั้งหมดเท่าไหร่ ( เศษส่วน ) > นับ > จำนวน > แทนค่าด้วยตัวเลข
              ทำได้หลายวิธีทั้งเขียน , ใช้ภาพ ( เป็นวิธีการดำเนินการ )
          2. ใช้เกณฑ์ " ขนาดที่เท่ากัน " ( จัดประเภท ) > จับคู่ > การวัด > เปรียบเทียบ > เรียงลำดับ
          3. ทำเป็นเซต ( เซต , แบบรูป )
          4. วางเยื้องกัน ( การอนุรักษ์) 
          5. ทำเป็นสถิติ 
      - ของเล่น
          1. ร้อย  ตามจำนวน , ตามขนาด
          2. เรียงเป็นรูปต่างๆ  วางตามแบบ
          3. ต่อเป็นบล็อก
          4. ทาบแล้ววาดรูปดอกไม้  เป็นการวาดเส้นขอบรอบรูป
          5. เป็นสื่อการวัด

งานที่ได้รับมอบหมาย

* เตรียมสาธิตการสอนตามหน่วยการเรียนที่กำหนดไว้